Project Home

กล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC

วิทยาลัยเทคนิคนครโคราช

ประเภท : สิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน

สิ่งประดิษฐ์ ปี : 2564

บทคัดย่อ

กล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC ใช้ฆ่าเชื้อโรคสิ่งของที่เราต้องการใช้ซ้ำ (re-use) ให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สุ่มจากกลุ่ม ครัวเรือน หอพัก ร้านค้าภายในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานในการรวบรวมข้อมูล มาตรประมาณค่า(Rating Scales) แบ่งเป็น 5 ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งาน 2) การหาประสิทธิภาพในการใช้กล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ประโยชน์การใช้งาน ค่าเฉลี่ย 4.70 ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย 3.80 ระดับความพึงพอใจ มาก

คุณลักษณะ / ประโยชน์

กล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC เป็นอุปกรณ์รังสียูวีซีที่จัดทำออกมาใช้ในระดับครัวเรือนและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ที่ผู้ใช้สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ น้ำ อาหาร เงินเหรียญและธนบัตร รวมถึงหน้ากากอนามัย ของเล่นเด็ก ฯลฯ ข้อดีของการใช้รังสีในการฆ่าเชื้อคือใช้เวลาไม่นาน ใช้ได้บ่อยตามความต้องการ ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย และไม่ทำลายพื้นผิววัตถุ ไม่ทิ้งสารตกค้าง ดีกว่าการใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ เวลาใช้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัย ก็ไม่ทำลายเส้นใย เหมาะสำหรับการใช้ฆ่าเชื้อในสิ่งทีเราต้องการใช้ซ้ำ (re-use) 1 ศึกษาและพัฒนากล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC 2 ทำความสะอาดสิ่งของที่เราต้องการใช้ซ้ำ (re-use) ให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างปลอดภัย 3 ลดปริมาณขยะที่เกิดจากการใช้หน้ากากอนามัย 4 สามารถสร้างรายได้จากการสร้างและพัฒนากล่องฆ่าเชื้อด้วยแสง UVC ในการจำหน่ายเชิง พาณิชย์ต่อไปได้

อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อ - นามสกุล แผนก / ฝ่าย
นางสาว ณิชกานต์ ไคลพิมายพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
นาย สุทัศน์ สังข์สนิทพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
นาย กุ้ง หงษ์ขุนทดพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
นาง ปัญจพร จันทร์เชยพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
นาย พยุง อยู่เจริญอุตสาหกรรม

นักเรียน

ชื่อ - นามสกุล ระดับหลักสูตร
นางสาว ชลธิชา สีชัยวาลย์ปวช.
นางสาว เกสรา เอกขระปวช.
www.000webhost.com